โครงสร้างการโฆษณาบน Facebook Ads ที่ทุกคนต้องรู้ก่อนทำ!
- kudsanmkt
- Aug 13, 2019
- 2 min read
Updated: Sep 12, 2019
คัดสรรเชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะเคยได้ใช้งาน Facebook Ads กันมาบ้าง ทั้งทำด้วยตัวเอง หรือ ผ่านทาง Agency โฆษณาต่างๆ ซึ่ง Facebook Ads ถือเป็นสื่อโซลเชียลมีเดียหลักๆ ในประเทศไทยเนื่องจากมียอดผู้ใช้งานเยอะเป็นอันดับต้นๆ

ในการทำ Facebook Ads นั้นก็มีหลายสิ่งที่ต้องเรียนรู้ด้วยกันหลายเรื่องก่อนเริ่มยิงโฆษณา โดยพื้นฐานเรื่องแรกที่เป็นเรื่องสำคัญ และควรต้องเข้าใจก่อนที่จะเริ่มทำโฆษณา Facebook Ads ก็คือ “โครงสร้างโฆษณา (Campaign Structure)“ ซึ่งก็เหมือนเป็น Guideline เพื่อให้ผลลัพธ์ต่างๆ ของการทำโฆษณาถูกต้องสมบูรณ์แบบตามที่เราต้องการ

โดยหลักๆ ของโครงสร้างโฆษณาบน Facebook Ads จะมีอยู่ 3 Layers
1. การกำหนดวัตถุประสงค์ของการโฆษณา (Campaign Objective)
วัตถุประสงค์ของการทำ Facebook ads จะถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ตาม Marketing Funnel หรือ Marketing Stage (ข้อมูล ณ สิงหาคม 2562)

กลุ่มที่ 1 – Awareness หรือการรับรู้
แยกวัตถุประสงค์ออกเป็น 2 แบบ
1. การรับรู้ถึงแบรนด์ (Brand Awareness)
2. การเข้าถึง (Reach)
กลุ่มที่ 2 – Consideration หรือการพิจารณา
แยกวัตถุประสงค์ออกเป็น 6 แบบ
1. จำนวนคนเข้าชมเว็ปไซต์ (Traffic)
2. จำนวนการมีส่วนร่วม (Engagement)
3. จำนวนการติดตั้งแอป (App Installs)
4. จำนวนการรับชมวีดีโอ (Video Views)
5. การสร้างฐานกลุ่มลูกค้า (Lead Generation)
6. ส่งข้อความ (Message)
กลุ่มที่ 3 – Conversion หรือ คอนเวอร์ชัน
1.คอนเวอร์ชัน (Conversion)
2.การขายผ่านแค็ตตาล็อก (Catalog Sales)
3.การมาเยี่ยมชมหน้าร้าน (Store Visits)
2. ชุดโฆษณา (Ad set)
ต่อจากชั้นของ Campaign Objective ก็จะเป็นในส่วนของชุดโฆษณา ในชั้นนี้จะต้องกำหนดมีค่าต่างๆ ให้กับ Facebook Ads ซึ่งส่วนที่สำคัญมากและใช้เวลาในการลงรายละเอียต โดยหลักๆ ที่จะต้องกำหนดจะมีดังนี้

2.1 กลุ่มเป้าหมาย (Audience)
ในส่วนนี้เป็นเหมือนหัวใจหลักของการทำ Facebook Ads เพราะเป็นการกำหนดคนที่จะมีโอกาสเห็นโฆษณาของเรา โฆษณาโดน คนเห็นก็ต้องใช่ด้วย!

กลุ่มเป้าหมายของ Facebook Ads จะแบ่งออกเป็น 3 แบบ
1. การกำหนดกลุ่มเป้าหมายหลัก (Core Audience)
2. การกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดเอง (Custom Audience)
จะเป็นการนำข้อมูลของลูกค้า หรือผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์ กับธุรกิจของเรา เช่น คนเข้าเว็ปไซต์, ข้อมูลชื่อ-เบอร์โทร-อีเมลลูกค้า รวมไปถึงคนที่เคยมีปฏิสัมพันธ์กับเพจเรา
3. การกำหนดด้วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความคล้ายกัน (Lookalike Audience)
จะคล้ายกับ Custom Audience แต่จะเป็นการนำข้อมูลเหล่านั้นมาทำการหากลุ่มเป้าหมายที่มีพฤติกรรม หรือมีปัจจัยต่างๆ ที่มีความใกล้เคียงกับกลุ่มเป้าหมายที่เราใส่ข้อมูลแทน
2.2 ตำแหน่งโฆษณา (Placement)
จะเป็นการกำหนดโฆษณาของเราว่าจะไปขึ้นที่ใดบ้าง โดยจะมีตำแหน่งของโฆษณาบน Facebook อยู่หลายที่ รวมไปถึงบน Media Channel อื่นๆ ภายใต้ Facebook เช่น Facebook Messenger, Instagram, Audience Network ตรงส่วนนี้เราควรเลือกตำแหน่งโฆษณาที่จะขึ้น รวมไปถึงการจัดวางเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ และใช่สำหรับคอนเทนต์โฆษณาที่เราต้องการนำเสนอหรือไม่ เพื่อให้โฆษณาของเราจะได้มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น

นอกเหนือจากตำแหน่งการจัดวาง (Placements) และ Channel แล้วก็ยังสามารถกำหนดอุปกรณ์ของกลุ่มเป้าหมายที่เราจะส่งโฆษณาไปถึง โดยสามารถเลือกได้ทั้งคอมพิวเตอร์ (Desktop) และมือถือ (Mobile) ซึ่งในมือถือนั้นสามารถเลือกลงลึกไปถึงระบบปฏิบัติการของเครื่องทั้ง IOS หรือ Andriod
2.3 งบประมาณและการกำหนดระยะเวลาโฆษณา (Budget & Schedule)
ในส่วนงบประมาณโฆษณาเราสามารถกำหนดงบเพื่อแจ้งทาง Facebook โดยเริ่มต้นขั้นต่ำจะอยู่ที่ 30 บาท ต่อวัน และในส่วนของการกำหนดระยะเวลาโฆษณา จะเป็นการแจ้งทาง Facebook ว่าเราต้องการให้โฆษณานี้ทำงานเริ่มต้นและสิ้นสุดเมื่อไหร่

สำหรับการกำหนดงบประมาณโฆษณาสามารถทำได้ 2 แบบ;
1. งบประมาณต่อวัน (Daily Budget) เป็นการกำหนดเงินที่ให้ Facebook ใช้ในโฆษณานี้วันละไม่เกินเท่าไร โดยสามารถกำหนดเวลาได้ 2 แบบ
1.1 ให้โฆษณาทำงานไปเรื่อย ๆ จนกว่าคนทำโฆษณาจะหยุดเองในอนาคต
1.2 กำหนดวันเวลาที่เริ่มต้นและสิ้นสุดล่วงหน้าเลย
2. งบประมาณต่อตลอดอายุการใช้งาน (Lifetime Budget) เป็นการกำหนดเงินที่ให้ Facebook ในช่วงเวลาที่เรากำหนดไว้ โดยจะต้องบอกวันเวลาที่เริ่มต้นและสิ้นสุด และซึ่งจะมีโอกาสที่ Facebook จะใช้เงินเราทำโฆษณาในแต่ละวันไม่เท่ากัน
*Lifetime Budget เราสามารถกำหนด วัน-เวลา ที่ต้องการแสดงโฆษณาได้ผ่าน Ad Scheduling ได้

2.4 เกณฑ์การเรียกเก็บเงิน (When you get charged)
ในส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับการ Bidding หรือ การเสนอราคาประมูล โดยปกติแล้ว Campaign Objective ส่วนใหญ่จะเลือกได้วิธีเดียวคือ คิดเป็นการแสดงผลโฆษณา (Impressions) แต่จะมีบางวัตถุประสงค์จะสามารถเลือกได้ระหว่างการแสดงผลโฆษณา (Impressions) และ Actions

**Actions เป็นการเรียกเก็บเงินจากการกระทำของกลุ่มเป้าหมายซึ่งทำให้เกิดผลลัพธ์ของโฆษณา ขึ้นอยู่กับ Campaign Objective ที่เลือก เช่น Page Like, Link Click, Landing Page View, ThruPlay เป็นต้น
3. โฆษณา (Ad)
สำหรับชั้นสุดท้ายของโครงสร้างโฆษณา (Campaign Structure) จะเป็นชั้นที่เกี่ยวข้องกับงานโฆษณาที่เราจะส่งให้กลุ่มเป้าหมายของเรา โดยลักษณะการทำชิ้นงานโฆษณานั้นจะทำได้ 2 แบบ คือ
1. สร้างโพสต์โฆษณาใหม่ (Create Ad) จะเป็นการสร้างชิ้นงานโฆษณาใหม่ที่จะอยู่ในระบบของ Facebook Ads แต่จะไม่ขึ้นในหน้า Facebook Page ของเรา จะเรียกโพสต์ต์เหล่านี้ว่า “โพสต์ต์โฆษณา (Ad Post)”
2. สร้างโฆษณาผ่านโพสต์ที่มีอยู่แล้ว (Use Existing Post) จะเป็นการเลือกโพสต์ใน Facebook Page หรือใช้ Ad Post เก่าของเราเพื่อใช้สำหรับยิงโฆษณาในชุดโฆษณาใหม่ แต่วิธีนี้จะใช้ได้เฉพาะบาง Campaign Objective เท่านั้น เช่น Brand Awareness, Reach, Engagement, traffic, etc.

รูปแบบชิ้นโพสต์โฆษณา (Format)
สามารถเลือกตอนสร้างโพสต์โฆษณาใหม่ (Create Ad) เริ่มต้นเลือกรูปแบบชิ้นงานโฆษณาที่ต้องการ ซึ่งรูปแบบที่มีให้เลือกจะขึ้นอยู่วัตถุประสงค์ของโฆษณา (Campaign Objective) ที่เราเลือกโดยมี ดังนี้
1. ภาพสไลด์ (Carousel)
2. ภาพเดี่ยวหรือวีดีโอ (Single Image or Video) 3. คอลเลคชัน (Collection) **จะแสดงผลขึ้นเฉพาะบน Mobile

ขั้นตอนถัดไปจะต้องเลือกรูปภาพหรือวีดีโอตาม format ที่เราเลือก และใส่ข้อมูลรายละเอียตลงไปในแต่ละช่อง ดังนี้
Primary text : สำหรับใส่ข้อความหรือแคปชั่นของ Ad
Headline : หัวเรื่องของโพสต์
Description : คำบรรยายใต้โพสต์
Website URL : สำหรับใส่ Link website เมื่อเวลากดปุ่ม (ถ้าในกรณีไม่มี Website สามารถใช้เป็น Link FB Message หรือ Line@ แทนได้)
Display Link : เขียน URL Link ที่จะขึ้นโชว์ในโพสต์จะใส่หรือไม่ก็ได้ (ถ้าไม่ใส่ก็จะขึ้นข้อความจากช่อง Website URL)
Call to Action (CTA Button) : ปุ่มกดที่โพสต์ซึ่งจะมีให้เลือกชื่อปุ่มมากมาย (ถ้าไม่รู้ว่าจะใช้ปุ่มไหนก็เลือกเป็นปุ่ม Learn more ที่ระบบ Facebook เลือกไว้ให้ก็ได้)
ทำไมถึงต้องทำความเข้าใจ Campaign Structure
ในปัจจุบันนี้ Digital Marketing หรือ การตลาดดิจิทัล เข้ามามีบทบาทกับแทบธุรกิจ ซึ่งข้อมูลในส่วนของโครงสร้างโฆษณาเองนั้น คนส่วนใหญ่มักจะมองข้ามมันไป แต่หากคุณทำความรู้จักและเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง คุณก็จะสามารถวางแผนการทำโฆษณาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและสามารถวางแผนและแก้ไขปัญหาในแต่ละจุดอย่างถูกต้อง (Optimize)
ซึ่งแนวคิดทั้งหมดนี้ไม่ใช่แค่เฉพาะบน Facebook Ads แต่คุณก็สามารถนำแนวคิดความเข้าใจและวิธีการเหล่านี้ไป Adapt ใช้บน Media Platform อื่นๆ ได้อย่างมีระบบและเพิ่มโอกาสที่จะทำให้โฆษณาของคุณประสบความสำเร็จได้
พวกเราคัดสรรแล้ว แล้วพวกคุณหละ!
พวกเราคัดสรรหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจโครงสร้างโฆษณา (Campaign Structure) ของ Facebook Ads กันมากขึ้น แล้วมาดูว่าผลลัพธ์การยิงโฆษณาของคุณจะเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน
ถ้ามีคอมเมนต์ หรือ เทคนิคอะไรที่อยากจะแชร์ให้ทางคัดสรรบ้าง สามารถพูดคุยกันได้ในคอมเมนต์ Facebook คัดสรร หรือทักหาเราผ่าน FB Messenger ได้เช่นกัน
Commenti